หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565)
วิสัยทัศน์หลักสูตร
“มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเป็นนักบัญชีที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางวิชาชีพบัญชีและพร้อมที่จะเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับวิชาชีพบัญชี”
จุดเด่นสาขาวิชา
“บัญชีดูเหมือนยาก แต่ไม่ลำบากเวลาหางาน”
โครงสร้างรายวิชา
1. รหัสและชื่อหลักสูตร | |
ภาษาไทย : | หลักสูตรบัญชีบัณฑิต |
ภาษาอังกฤษ : | Bachelor of Accountancy Program |
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ชื่อเต็ม (ไทย) : | บัญชีบัณฑิต |
ชื่อย่อ (ไทย) : | บช.บ. |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : | Bachelor of Accountancy |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : | B.ACC. |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ผศ.จิตรเลขา ทาสี
ประธานหลักสูตร
- นางสาว ริญญารัศมิ์ เลิศพุทธิกุล
- นาย อัครเดช ตุลยพงศ์รักษ์
- นางสาว ดวงแก้ว พรศิวนาถ
- นางสาว ปิยะนาท ศุภรานนท์รัตน์
หน่วยกิตตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 93 |
2.1 กลุ่มวิชาแกน-ธุรกิจ | 33 |
2.2 กลุ่มวิชาอัตราลักษณ์ | 12 |
2.3 กลุ่มวิชาเอก - บังคับ | 36 |
2.4 กลุ่มวิชาเอก - เลือก | 12 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรีเรียนไม่น้อยกว่า | 6 |
รวม | 129 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักบัญชีอาทิ ผู้ทำบัญชี
- นักภาษีอากร
- ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ผู้ตรวจสอบภายใน
- ผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินและการบัญชี
- นักวางระบบบัญชีสำหรับธุรกิจต่างๆ
- นักบัญชีบริหารหรือบัญชีเพื่อการจัดการ อาทิ การให้คำปรึกษาด้านการบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจำหน่าย และธุรกิจทั่วไป
- อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการบัญชีและเทคโนโลยีทางการบัญชี
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักวิชาการ การประกอบธุรกิจส่วนตัว
ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร
ผู้สำเร็จการศึกษา ม.6 / ปวช. / หรือเทียบเท่า ค่าใช้จ่าย 162,000 บาท ตลอดหลักสูตร
ผู้สำเร็จการศึกษา ปวส. / อนุปริญญา / หรือเทียบเท่า ค่าใช้จ่าย 81,000 บาท ตลอดหลักสูตร